เมนู

[ว่าด้วยขาวอบาย 3 พวกเป็นต้น]


สองบทว่า อิทมปฺปหาย ได้แก่ ไม่สละลัทธิมีความเป็นผู้ปฏิญ-
ญาว่า ตนเป็นพรหมจารีบุคคลเป็นต้นนั่น.
สองบทว่า สุทฺธํ พฺรหฺมจารึ ได้แก่ ภิกษุผู้ขีณาสพ.
สองบทว่า ปาตพฺยตํ อาปชฺชติ ได้แก่ ถึงความเป็นผู้ตกไปคือ
การเสพ.
แต่เพราะพระบาลีว่า อิทมปฺปหาย บุคคลนั้น พึงละความปฏิญญา
ว่าตนเป็นพรหมจารีบุคคลนั้นเสียแล้ว ขอขมาพระขีณาสพเสียว่า ข้าพเจ้ากล่าว
เท็จ ขอท่านจงอดโทษแก่ข้าพเจ้า แล้วสละลัทธิที่ว่า โทษในกามทั้งหลายไม่มี
เสีย ทำการชำระคติให้สะอาด.
อกุศลทั้งหลายด้วย รากเหง้าทั้งหลาย ชื่อว่าอกุศลมูล อีกอย่างหนึ่ง
รากเหง้าของอกุศลทั้งหลาย ชื่อว่าอกุศลมูล. แม้ในกุศลมูล ก็นัยนี้แล.
ความประพฤติชั่วหรือความประพฤติผิดรูป ชื่อว่าทุจริต.
ความประพฤติเรียบร้อยหรือความพระพฤติที่ดี ชื่อว่าสุจริต.
ทุจริต ที่ทำด้วยกายอันเป็นทางสำหรับทำ ชื่อว่ากายทุจริต.
ในบททั้งปวง ก็นัยนี้แล. คำที่เหลือ นับว่าชัดเจนแล้ว เพราะมีนัย
ดั่งกล่าวแล้วในที่นั้น ๆ ฉะนี้แล.
พรรณนาหมวด 3 จบ

(พรรณนาหมวด 4)
[ว่าด้วยประเภทของอาบัติ]


วินิจฉัยในหมวด 4 พึงทราบดังนี้:-

ข้อว่า สกวาจาย อาปชฺชติ ปรวาจาย วุฏฺฐาติ มีความว่าภิกษุ
ต้องอาบัติต่างโดยชนิดมีปทโสธัมมาบัติเป็นอาทิ เนื่องด้วยวจีทวาร ถึงสถาน
ที่ระงับด้วยติณวัตถารกะแล้ว ย่อมออกด้วยกรรมวาจาของภิกษุอื่น.
ข้อว่า ปรวาจาย อาปชฺชติ สถวาจาย วุฏฺฐาติ มีความว่า
ภิกษุต้องด้วยกรรมวาจาของภิกษุอื่น เพราะไม่ยอมสละทิฏฐิลามก เมื่อแสดงใน
สำนักของบุคคล ชื่อว่าออกด้วยวาจาของตน.
ข้อว่า สกวาจาย อาปชฺชติ สกวาจาย วุฏฺฐาติ มีความว่า
ภิกษุต้องอาบัติต่างโดยชนิดมีปทโสธัมมาบัติเป็นอาทิ เนื่องด้วยวจีทวารด้วย
วาจาของตน แม้เมื่อแสดงแล้วออกเสียเอง ชื่อว่าออกด้วยวาจาของตน.
ข้อว่า ปรวาจาย อาปชฺชติ ปรวาจาย วุฏฺฐาติ มีความว่า
ภิกษุต้องสังฆาทิเสส มีสวดสมนุภาสน์เพียงครั้งที่ 3 ด้วยกรรมวาจาของผู้อื่น
แม้เมื่อออก ชื่อว่าย่อมออกด้วยกรรมวาจามีปริวาสกันมวาจาเป็นต้นของภิกษุ
อื่น.
วินิจฉัยในจตุกกะเหล่าอื่นจากปฐมจตุกกะนั้น พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุต้องอาบัติที่เป็นไปทางกายทวาร ด้วยกาย เมื่อแสดงเสียชื่อว่า
ออกด้วยวาจา.
ต้องอาบัติที่เป็นไปทางวจีทวาร ด้วยวาจา ชื่อว่าย่อมออกดด้วยกาย
เพราะติณวัตถารกสมถะ.
ต้องอาบัติที่เป็นไปทางกายทวาร ด้วยกาย ชื่อว่าย่อมออกจากอาบัติที่
เป็นไปทางกายทวารนั้นแล ด้วยกาย เพราะติณวัตถารกสมถะ.

ต้องอาบัติที่เป็นไปทางวจีทวาร ด้วยวาจา เมื่อแสดงอาบัตินั้นแลเสีย
ชื่อว่าออกด้วยวาจา.
ภิกษุผู้หลับ ย่อมต้องอาบัติที่จะพึงต้องตามจำนวนแห่งขน เพราะกาย
ถูกเตียงของสงฆ์ที่ไม่ลาดด้วยเครื่องลาดของตน และอาบัติที่จะพึงต้องเพราะ
นอนในเรือนร่วมกัน. และเมื่อตื่นแล้วรู้ว่าตนต้องแล้วแสดงเสีย ชื่อว่าตื่นแล้ว
ออก แต่เมื่อตื่นอยู่ ต้องแล้ว นอนในสถานที่ระงับด้วยติณวัตถารกะ ชื่อว่า
กำลังตื่นต้อง หลับไป ออก. แม้ 2 บทเบื้องหลัง ก็พึงทราบโดยทำนองที่
กล่าวแล้วนั่นแล.
ภิกษุผู้ไม่มีความตั้งใจ ชื่อว่าย่อมต้องอาบัติที่เป็นอจิตตกะ. เมื่อแสดง
เสียในภายหลัง ชื่อว่ามีความตั้งใจออก.
ภิกษุผู้มีความตั้งใจ ชื่อว่าย่อมต้องอาบัติที่เป็นสจิตตกะ. เธอนอนอยู่
ในสถานที่ระงับด้วยติณวัตถารกะ ชื่อว่าไม่มีความตั้งใจออก. แม้ 2 บทที่
เหลือ ก็พึงทราบโดยทำนองที่กล่าวแล้วนั่นแล.
ภิกษุใด แสดงสภาคาบัติ ภิกษุนี้ชื่อว่าแสดงอาบัติ อย่างใดอย่างหนึ่ง
มีปาจิตตีย์เป็นต้น ต้องคือทุกกฏ เพราะการแสดงเป็นปัจจัย. จริงอยู่ เมื่อแสดง
อาบัตินั้น ย่อมต้องทุกกฏ. แต่เมื่อต้องทุกกฏนั้น ชื่อว่าย่อมออกจากอาบัติ-
ปาจิตตีย์เป็นต้น. เมื่อออกจากอาบัติมีปาจิตตีย์เป็นต้น ชื่อว่าย่อมต้องทุกกฏ
นั้น. จตุกกะนี้ว่า อตฺถิ ปิปชฺชนฺโต เทเสติ ดังนี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าว
หมายเอาประโยคอันหนึ่งเท่านั้น ของบุคคลผู้หนึ่ง ด้วยประการฉะนี้.

[วินิจฉัยในกัมมจตุกกะ]


วินิจฉัยในกัมมจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุต้องอาบัติเพราะไม่ยอมสละทิฏฐิลามก ด้วยกรรม, เมื่อแสดงเสีย
ชื่อว่าออกด้วยมิใช่กรรม.
ต้องอาบัติเพราะปล่อยสุกกะเป็นต้น ด้วยมิใช่กรรม, ย่อมออกด้วย
กรรม มีปริวาสเป็นอาทิ.
ต้องอาบัติเพราะสมนุภาสน์ ด้วยกรรมเท่านั้น ย่อมออกด้วยกรรม.
ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ ด้วยมิใช่กรรม ย่อมออกด้วยมิใช่กรรม.

[วินิจฉัยในปริกขารจตุกกะ]


วินิจฉัยในปริกขารจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-
บริขารของตนเป็นที่ 1. บริขารของสงฆ์เป็นที่ 2. บริขารของเจดีย์
เป็นที่ 3. บริขารของคฤหัสถ์เป็นที่ 4. ก็ถ้าว่า บริขารของคฤหัสถ์นั้น เป็น
ของที่เขานำมา เพื่อประโยชน์แก่บาตร จีวร นวกรรมและเภสัช. ภิกษุจะให้
กุญแจ และให้บริขารนั้นอยู่ข้างในก็ควร.

[วินิจฉัยในสัมมุขจตุกกะ]


วินิจฉัยในสัมมุขจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุต้องอาบัติเพราะไม่ยอมสละทิฏฐิลามก ต่อหน้าสงฆ์แท้, แต่ใน
เวลาออกไม่มีกิจที่สงฆ์จะต้องทำ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าออกลับหลัง.
ต้องอาบัติ เพราะปล่อยสุกกะเป็นต้น ลับหลัง ย่อมออกต่อหน้าสงฆ์.